การบริหารสมดุลชีวิตยุคดิจิตอล 4.0
คำถามที่น่าสนใจและมีอิทธิพลสำหรับคนในยุคนี้ คือ จะมีแนวคิดหรือสิ่งใดกันที่ใช้ช่วยให้ชีวิตผู้คนดีขึ้นและสามารถพัฒนาคนภายในองค์กรได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้เพราะ “คน” ก็ยังเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดต่อการนำพาองค์กรไปก้าวข้างหน้า ที่ผ่านมาผลจากการพัฒนาคน หากมีการประเมินผล ส่วนใหญ่จะพบว่า องค์กรมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ในมิติด้านบุคลากร ความสุขในการทำงานกลับลดลง ความเครียดเพิ่มมากขึ้น ต่างคนต่างมุ่งเน้นการแสวงหารายได้หรือความร่ำรวย ทำให้ผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรที่ช่วยให้มนุษย์ได้พบศักยภาพที่แท้ของตนเองและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มุ่งเน้นการแสวงหาครอบครองและการเอาชนะธรรมชาติมาเป็นวิถีแห่งสมดุล เรียบง่าย อบอุ่น สงบเป็นมิตรกับธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว
จากมุมมองส่วนตัวที่ได้นำแนวคิดการพัฒนาคนที่มุ่งเน้นทั้งวิธีคิดและวิธีการ โดยพัฒนาอยู่บนฐานรากขององค์ความรู้ ภูมิปัญญา ปรัชญาแนวคิดทั้งแนวตะวันตกและตะวันออก จนกระทั่งทำให้ตนเองมีความรู้สึกสนใจมากเป็นพิเศษในการนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาทางตะวันออกที่มีการหลอมรวมทั้งความรู้และวิธีการในรูปแบบการพัฒนาทางศีลธรรมและจิตวิญญาณแบบศาสนาเข้ากับวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ที่มีความหนักแน่นและน่าเชื่อถือ มีเหตุมีผล เป็นระบบ วิทยาศาสตร์ยังให้น้ำหนักกับหลักฐานที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจน มาหลอมรวมและผสมผสานกันทั้งในแง่มุมของผลลัพธ์ที่จับต้องได้ กับความเชื่อที่ทรงพลัง เพื่อบูรณาการแนวทางการพัฒนาคนเข้าสู่ “วิถีแห่งสมดุล”
นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้ค้นพบว่า แนวทางการพัฒนาที่ช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ค้นพบศักยภาพที่แท้ของตนเอง และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากฝึกอบรมเพื่อนำเอาไปใช้ได้จริงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในยุคปัจจุบันให้สำเร็จนั้น การพัฒนาวิถีคิดเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถใช้เป็นคำตอบสำหรับการนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ เปรียบเสมือนการตอบคำถามเดิมในแต่ละช่วงเวลา แต่คำตอบต่างกันตามปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการยกระดับการฝึกอบรมพัฒนาให้ต่อยอดจนสามารถไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายบริบทของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับการฝึกอบรมพัฒนาทั้งในแง่วิธีคิดและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางใหม่ เพื่อช่วยให้คนได้ค้นพบศักยภาพ ตระหนักรู้ และสำนึกรับผิดชอบในตนเอง
เครื่องมือการพัฒนาคน กลายเป็นประเด็นที่ได้ถูกจับตามองมากขึ้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียนเอง พบว่า เป้าหมายของการฝึกอบรมและพัฒนาได้ถููกตั้งไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้น รักษาสมดุลชีวิตและการทำงานให้ดีขึ้น หลักการที่นิยมใช้กันคือ การเปลี่ยนวิธีคิด มองโลกในแง่บวก การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ และการเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จริง ๆ แล้วกระบวนการดังกล่าวส่งผลได้เพียงระยะสั้นๆ เพราะอีกไม่นานความเคยชินเดิมก็กลับมา ผู้เขียนจึงมองว่าแนวทางการบ่มเพาะคนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขัดเกลาตนเองจากภายใน หรือ .“การสร้างชีวิตให้สมดุล” อย่างผู้ตื่น รู้ และเบิกบาน เริ่มได้รับความสนใจตอบรับกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสุดท้ายก็เป็นไปตามความจริงของธรรมชาติไม่พ้น ซึ่งเป็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และจำเป็นต้องดับไป ฉะนั้นแนวทางการพัฒนาคนให้สามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนไปใช้จริงจนสามารถสร้างความสำเร็จได้ มุ่งเน้นการพัฒนาภายใต้แนวคิด “iSTEE”
i=idol, Intelligent หมายถึง ความฉลาดหลักแหลม
S=System หมายถึง ระบบ
T=Task หมายถึง กิจกรรม
E=Event หมายถึง เหตุการณ์
E=Entity หมายถึง ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
iSTEE คือ เครื่องมือพัฒนาปัญญาที่ถูกนำมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีจนกลายเป็นแอพพลิชั่นที่ทำงานภายใต้โครงการ Samong framwork “เมื่อเห็นความคิด ก็เจริญปัญญา” ถูกพัฒนาให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีกระบวนการถ่ายทอดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และนำเอาไปใช้จริง โดยการนำวิถีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ “คิดให้ครบ คิดให้รอบ จบที่วิถีทางแห่งสมดุล” เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นไปตามเหตุและปัจจัย แนวคิดพัฒนาคนโครงการสมองไทยแลนด์ จึงเป็นเรื่องราวของการสร้างนวัตกรรมส่งผ่านเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่น ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และจิตวิญญาณ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหา ผ่านซอฟท์แวร์ (เทคโนโลยี) จะเกิดผลอะไร แก้ไข ด้วยคุณค่าอะไร โดยใช้พลังสติในตัวเองเป็นผู้ควบคุมการมีสติ การใช้สติ รู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกของตนเอง จนสามารถยั้งคิด ไตร่ตรอง และตอบสนองอย่างเหมาะสม
ในขณะเดียวกัน ข่าวดีสำหรับการพัฒนาชีวิตให้รุ่งเรืองเป็นเรื่องง่ายหากถูกวิธี ในความเป็นจริงผู้คนในยุคปัจจุบันสามารถทราบถึงปัญหาในชีวิต ความต้องการในชีวิต และการวางแผนชีวิตมากขึ้น แต่จะประเมินตัวเองอย่างไร เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง จากนั้นจะได้ทราบว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขคืออะไร ควรจะเก็บสะสมข้อมูลหรือประวัติอย่างไร ดังนั้นเพื่อช่วยให้คนได้สำรวจ ทำความรู้จัก ประเมินตัวเอง ทำความเข้าใจ ว่ามีจุดแข็งในด้านใด โดยมีผลงานทางวิชาการรองรับ ทีมงานสมองไทยแลนด์จึงได้ทำการวิจัยพัฒนาจนสามารถผลิตแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูล รุ่น ATOM.S001 รองรับระบบปฏิบัติการ Android เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการสมดุลชีวิต โดยการประเมินตนเองที่อาศัยความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และไม่ต้องรวบรวมความคิด ในการให้คะแนนในการสำรวจด้านต่างๆความเป็นจริง และทำการบันทึกลงในแอพพลิเคชั่นดังกล่าว โดยทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งและสามารถประเมินพัฒนาการได้ในแต่ละรอบ
การบริหารจัดการสมดุลชีวิต จึงเป็นเครื่องมือที่มุ่งเน้นให้คนมีแผนที่ มีกองกำลัง มีฐานสติบัญชาการ มีความพร้อม ไม่ประมาทกับการตัดสินใจดำเนินชีวิต ไม่เสี่ยงกับการล้มละลายหรือการจมอยู่ในกองหนี้ ด้วยเหตุที่ว่าการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล โดยใช้แอพพลิเคชั่นประกอบการฝึกอบรมเป็นคู่มือที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาว่าส่วนใดในชีวิตที่ต้องแก้ไขและแก้ไขอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการฝึกอบรมไปสู่การใช้ชุดความคิดบวกกับเครื่องมือยุค 4.0 จนนำไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์์ เพื่อสร้างความคุ้มค่าสำหรับการพัฒนาชีวิตคน จนสามารถนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ก้าวไปสู่เพื่อนคู่คิด ดูแลชีวิตล้ำสมัย พัฒนาเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเองประจำตัวเป็นคู่มือชีวิต เป็นเพื่อนคู่กายดูแลซึ่งกันและกัน สามารถถ่ายทอดประสบการณ์สู่คนรุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้เครื่องมือดังกล่าวจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคดิจิตอลของทุกคนจริงๆ ซึ่งท่านผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดหลักสูตรสัมมนา บริหารจัดการชีวิตสมดุลยุคดิจิตอล สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่ ดร. นิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ (โค้ช ดร. แอนดี้) Fb: @dr.andy99
ดร. นิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ
5195total visits,6visits today