Samong DOA Jedi นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ตอนที่ 1/2

Digital Multiverse Ecosystem

Samong DOA Jedi นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ตอนที่ 1/2

Samong DOA Jedi  101  หรือ Samong.DOA101

เป็นโครงการความร่วมมือแรกที่ทีมงานสมอง (ไทยแลนด์) ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายฝึกอบรม  กรมท่าอากาศยาน  (Department of Airports)  ให้ทำการฝึกอบรมนักพัฒนาซอฟต์แวร์  เพื่อเป็นก้าวแรกของการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่  ความเป็นองค์กรแห่งยุคดิจิตัล

รูปแบบการฝึกอบรมมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ที่ผ่านการเตรียมหลักสูตรมาอย่างเข้มข้น  ที่ประกอบไปด้วยการอบรมทั้งทางด้านเทคโนโลยี  คือ  (1) การฝึกการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยเครื่องมือ Delphi 10.2 Tokyo  และ  (2) การพัฒนาปลูกฝังแนวความคิดที่ถูกต้อง

ในด้านเทคโนโลยี  เราได้ทำการถ่ายทอดมาตรฐานกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นไปตามหลัก Software Development  Life Cycle และหลัก DevOps  และตามด้วยการพัฒนาระบบงานด้วยหลัก Object Oriented อันประกอบด้วย Object Oriented Analysis (OOA), Object Analysis Design(OOD) และ Object Oriented Programming (OOP)   และหลัก Minimum Viable Product(MVP)  โดยสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถมองเห็นภาพกว้าง  ภาพความสัมพันธ์  ให้สามารถออกแบบระบบได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน  และลงท้ายด้วยการลงมือเขียนโค้ดให้เป็นไปตามแผนงานที่ออกแบบไว้  แม้นจะไม่มีความชำนาญในทันทีเพราะมีความจำกัดเรื่องกรอบเวลา  ที่นักรบ  นักพัฒนา  เหล่านี้ได้มองเห็นอย่างทะลุว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์มีขั้นตอนอย่างไร

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต https://www.slideshare.net/HungHoNgoc/group-8-presentationmetricsforobjectorientedsystem

ในด้านการพัฒนาปลูกฝังแนวความคิดที่ถูกต้อง  ด้วยกระบวนการ Softside  เราได้ถ่ายทอด  ส่งมอบความคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์  ให้เป็นผู้มีความรักในงานระบบที่นักพัฒนาจะทำการสร้างขึ้นในอนาคต  แนวคิดที่มองซอฟต์แวร์เปรียบเหมือนสิ่งมีชีวิต  ที่จะสามารถพัฒนาเติบโต  ให้ดูแลรักษาได้ง่าย  มีต้นทุนการรักษาต่ำและเป็นประโยชน์ยั่งยืน  การสามารถที่จะใช้ซ้ำ (Reuse) ของชิ้นส่วน  การแชร์ชิ้นส่วน  และการสร้างเครือข่ายนักพัฒนา  การสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ชิ้นส่วน  สร้างความเข้มแข็งเป็นเกราะป้องกันตนเองของนักพัฒนา  เพื่อเดินหน้าไปสู่เส้นทางอันโหดร้ายแห่งยุคดิจิตัล Thailand 4.0

การถ่ายทอด  พัฒนาแนวคิดที่ถูกต้อง  ดำเนินการโดย  อาจารย์นักจิตวิทยา  นักอบรมสไตล์แคมป์  ที่หาตัวจับยากในวงการฝึกอบรมยุคดิจิตัล  ที่มีทักษะผสมผสาน  ประกอบด้วยขั้นตอนการให้ความรู้ตามหลักธรรมะ  ความเข้าใจหลักธรรม  สัจธรรมที่พิสูจน์มาแล้วกว่า 2500 ปี  อันเป็นที่มาของหลัก iSTEE   เราฝึกฝนการทำงานร่วมกัน (Collaborative) ด้วยเครื่องมือ Google App (G-Suite)  ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้นักพัฒนาได้เห็นว่าพวกเขาสามารถทำการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์ในอนาคตกันเองได้อย่างไรและจพควบคุมเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ได้อย่างไร  นอกจากนี้  เครื่องมือพื้นฐานนี้ยังสามารถใช้ในการจัดการงานระบบเอกสาร  งานฐานข้อมูลภายในหน่วยงานได้อย่างง่ายดายรวดเร็ว  เพื่อเป็นการเตรียมการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นจริง ๆ

ผู้เข้าอบรมเป็นตัวแทนมาจากหลายหน่วยงาน  และจำแนกได้เป็น 12 ระบบงาน  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน  การรวมประสบการณ์และความต้องการ  ก่อให้เกิดการริเริ่มการออกแบบระบบซอฟต์แวร์ที่จำเป็นที่จะมารองรับการทำงานขององค์กรในอนาคตซึ่งเป็นระบบหรือซอฟต์แวร์ที่จะไม่มีใครจากภายนอกจะมาพัฒนาให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น  และหากจะเป็นการว่าจ้างทำการพัฒนาให้ทุกส่วนจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตและการบำรุงรักษาที่มีมูลค่ามหาศาลที่จะตกเป็นภาระแก่ภาษีของประเทศชาติ  การริเริ่มการออกแบบระบบจากหน่วยย่อยตามหลัก MVP  ที่ผ่านการแชร์ประสบการณ์ความต้องการจากทุกท่าอากาศยาน  ก็จะเป็นเมล็ดพันธ์  เป็นระบบงานให้กับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด  ที่อาจจะทำให้กรมท่าอากาศยาน  กลายเป็นองค์กรต้นแบบแห่งยุคดิจิตัล

 

  • การมองเห็นความต้องการของตนเองที่ชัดเจน
  • การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
  • การสนับสนุนที่ชัดเจน
  • การให้การอบรมด้วยแนวคิดที่ถูกต้อง  บนหลักความยากไม่ใช่เรื่อง โค้ด แต่เป็นเรื่องของการสร้างหลักการคิดที่ถูกต้อง
  • ความมุ่งมั่นของนักพัฒนา

ความเปลี่ยนแปลงในองค์กรจะก่อตัวขึ้นและเติบโตอย่างต่อเนื่อง  เปรียบเหมือน เมล็ดพันธ์ุ  ที่ได้รับการปลูกฝังอย่างตั้งใจ จริงจัง อย่างเข้มข้น เมล็ดพันธุ์ที่มีน้ำใจน้ำสปริต  ความรักองค์กรเป็นน้ำหล่อเลี้ยง  และการสนับสนุนจากผู้บริหาร  และในวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์  กล้าไม้เหล่านี้จะเติบโต  เป็นร่มเงา  ให้ดอกให้ผล  ให้ความเจริญแก่กรมท่าอากาศยาน และนำมาซึ่งความเป็นโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ  สร้างความสะดวกสบาย  รับใช้ประชาชนให้  “ยิ้มแย้ม  ยินดี  สุขขี ที่บ้านเรา

เราขอขอบคุณกับเสียงสะท้อน  ผลการประเมิน  ที่บ่งบอกถึงความประหลาดใจ  ประทับใจ  ความมีปิติ  ต่อบรรยากาศการถ่ายทอดปลูกฝังเมล็ดพันธุ์ “สมอง” และปลูกจิตวิญญาณของทีมงานวิทยากร  ในสไตล์ที่ไม่มีใครทำมาก่อน   ที่สามารถทำให้การเรียนรู้เรื่องที่ยากๆ กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ สนุกสนานจนบางท่านอยากเรียนต่ออีกหลายๆ วัน

ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ทั้งจากหน่วยงานของกรมฯ  หน่วยงานภาคเอกชน  และขอขอบคุณผู้ร่วมเข้ารับการฝึกอบรม  และในโอกาสเดียวกันนี้เราใคร่ขออนุญาตนำภาพบางส่วนมาประกอบบทความแห่งประวัติศาสตร์นี้

วันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นประกาศ  การเดินหน้าภาระกิจในการขับเคลื่อนแนวคิดตามพละกำลังของเราที่มีและเราจะเดินหน้าต่อไป   และยินดีที่จะให้บริการแก่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการยกระดับความแข็งแกร่งของทีมงานทั้งทางด้านจิตวิญญาณและเทคโนโลยี

พบกันในตอนหน้า  ที่เราจะมานำเสนอ  คลิปวิดีโอจากงานอบรมสัมมนาในครั้งนี้  รวมทั้งมาติดตาม  การต่อยอดของนักพัฒนาจากกรมท่า  ในนาม  DOA Jedi หรือ นักรบจิตวิญญาณสายพันธ์  รุ่นที่ 1/1 (DOA 101)

5357total visits,4visits today

Leave a Reply