Category: iSTEE

Digital Multiverse Ecosystem

ทำไมถึงต้องเทคโนโลยี Samong

ลองจินตนาการสมองคือกลุ่มเครือข่ายที่เชื่อมโยงเอาเส้นสายประสาท  ต่อม ปุ่ม วัดความร้อนเย็น ความรู้สึกต่าง   ที่มีอยู่จำนวนมาก ๆ สมองของเรามีการจัดการอย่างไร  ที่จะต้องมีทั้งความรวดเร็ว  แยกแยะและแม่นยำ หากจะต้องทำการพัฒนาระบบที่มีความสลับซับซ้อนเช่นนี้  ที่แต่ละระบบจะต้องทำงานแบบ Realtime  ไม่ต้องรอให้อีกภาระกิจหนึ่งทำงานสำเร็จไปก่อน  ก็จำเป็นจะต้องมีทั้งการสื่อสาร  การประมวลผล  การจดจำ  ทำงานรวมกันอย่างรวดเร็ว เปรียบดังการสื่อสารด้วย 5G เพื่อตอบการสื่อสารที่รวดเร็ว    และการทำงานของอุปกรณ์จำพวกมือถือ  ที่ต้องทำงานอย่างรวดเร็ว  อุปกรณ์มือถือจึงต้องทำงานด้วย Native Code การออกแบบระบบการจัดการ Samong เพื่อทำงานเปรียบเหมือนสมอง  ที่มีทั้งการคิดและการจดจำ  จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้น  พร้อมๆ กับการเลือกภาษาที่มีความเหมาะสมที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็น Native Coe   Samong คือเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาที่กล่าวมา ลดต้นทุน ขยายโอกาสทางธุรกิจได้จากการพัฒนาระบบที่รวดเร็ว ค่าบำรุงรักษาต่ำ นี่คือกลไกการทำกำไรด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญ  นี่คือหัวใจเทคโนโลยีพื้นฐาน หลายสิบล้านอุปกรณ์ IoT และการขยายธุรกิจ    

เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบงานด้วยเดลไฟ Delphi ดีไหม?

ปัจจุบันคุณเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้กี่ภาษา…แล้วไง?     ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้กี่ภาษาก็ตามท้ายที่สุดสิ่งที่คุณจะภูมิใจมากที่สุดก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คุณได้พัฒนาขึ้นมา ทุกวันนี้หากลองคิดทบทวนดูทุกโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นล้วนเป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ผลิตขึ้น นำไปใช้งานและล้าสมัยไปตามกาลเวลา แต่ในโลกของเทคโนโลยีการล้าสมัยมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก     จำนวนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ของคุณที่สร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับคุณปัจจุบันนี้มีอยู่กี่ตัว ถ้าคิดเป็นมูลราคาโดยรวมจะสักเท่าไหร่ ลองทบทวนดูจำนวนคำสั่งที่เราต้องสูญเสียไปในการพัฒนาโปรแกรม ด้วยภาษาที่หลากหลายที่เราเคยเขียนมาพัฒนามา คุณประเมินการสูญเสียนั้นมีมูลราคาสักเท่าไหร่ ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายที่ได้ใช้ไป     นักพัฒนาระบบเขียนโปรแกรมเพื่อรับเงินเดือน ส่วนใหญ่ก็ต้องทำงานกันเป็นทีม มีการนำเอาชุดคำสั่งต่างๆที่ เขียนมารวมเข้าด้วยกันโดยหัวหน้าโครงการ ปัญหามันคงจะไม่มีอะไรมากมาย ถ้าหากไม่มีเวลามาเกี่ยวข้อง ลองนึกภาพโปรแกรมที่เขียนมาไปแล้วหกเดือน แล้วกลับมานั่งแกะโปรแกรมตัวเองว่าทำอะไรได้บ้าง ถ้าจะต้องมานั่งรับงานแก้ไขส่วนที่เป็นของคนอื่นที่เขียนเอาไว้ ผู้ที่เขียนโปรแกรมมามากพอ ก็คงจะรู้ว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาพอสมควร กับชุดคำสั่งหลายล้านคำสั่งที่ต้องมีการบริหารจัดการ     จากที่กล่าวมาทั้งหมด สภาพแวดล้อมการทำงานจริงจะเห็นได้ว่าความสำคัญเรื่องภาษากับปัญหาจริง ตัวภาษาไม่ใช่เป็นปัจจัยที่แก้ไขปัญหาทั้งหมด ตัวภาษาและเครื่องมือไม่ได้เป็นตัวเลือกสำคัญที่สุดในการก้าวไปข้างหน้า ในเรื่องของการพัฒนาระบบ แต่กลับกันตรงกันข้ามทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ต้องมานั่งคุยถกเถียงกันว่า ภาษาอะไรดีที่สุด ทั้งที่ทุกภาษาก็มีข้อดีและเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ปี 2561 เดลไฟ (Delphi) อายุขึ้นปีที่ 23 ปีแล้ว      ถ้าจะมีภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่มีอายุผ่านมาได้ 23…
Read more

อธิบายการทำงานของ Samong กับ JavaVM

เขียนคำสั่งครั้งเดียว นำไปใช้งานได้ทุกที่ (Write Once Run Anywhere)     จากความต้องการลดปัญหาการพัฒนาระบบที่ต้องนำไปใช้งานบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน จำนวนทีมงานที่ต้องมาร่วมกันทำงานจำนวนมาก จำนวนคำสั่งที่จะต้องเขียนซ้ำซ้อนกันโดยมีความแตกต่างกันในเรื่องภาษาที่ต้องแยกไปตามแพลตฟอร์ม นี่คือความต้องการส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด JavaVM  และภาษา Java ที่ถูกพัฒนาขึ้นมากเพื่อแก้ไขปัญหาและได้รับความนิยมมากในปัจจุบันอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้งานได้ฟรี เพราะเป็นแบบ Open Sources     ตัวของ JavaVM เปรียบเสมือนเป็นมิดเดิลแวร์ หรือตัวห่อหุ้มความหลากหลายไว้ภายใน ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องกังวลใจในเรื่องความแตกต่างของแพลตฟอร์มต่างๆ กลายเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยการนำชุดคำสั่งของแอพพลิเคชั่นมาทำงานบน JavaVM ไม่ใช่ NativeCode หรือคำสั่งของซีพียู หรือคำสั่งของอุปกรณ์โดยตรง   ความต้องการ Native Code เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ IoT (Internet of Thing) จำนวนของอุปกรณ์ IoT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย มีฟังก์ชั่นและการทำงานที่แตกต่างกัน การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G ที่รองรับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว หรือใช้เวลาน้อยลง ความแตกต่างของอุปกรณ์ IoT…
Read more

ความก้าวหน้าตอกย้ำแนวคิด การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ยั่งยืน

นับจากวันที่ได้ทำการก่อตั้ง “สมองไทยแลนด์”  คือวันที่ 12 เมษายน 2560  จนถึงบัดนี้รวมเวลากว่า 7 เดือน มีลำดับเหตุการณ์ที่อยากจะบันทึกไว้อย่างคร่าว ๆ กันลืม (มากมาย) 12 เมษายน 2560 การก่อตั้ง  “สมองไทยแลนด์”  โดยเกิดขึ้นภายหลังการได้นำเสนอแนวคิดให้กับนักธุรกิจบางกลุ่มได้รับฟัง  และได้ผลลัพธ์จากการสนทนาคือ  “ผลการตอบสนองที่ดีมาก”  เป็นการยืนยันความคิดของเราว่า  ยังมีคนฟังเราได้เข้าใจ  ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายและยังมองอะไรไม่เห็นเลย 13-17 มิถุนายน 2560   เป็นช่วงเวลาในการเดินเข้าออกสำนักงานวัตกรรม  เพื่อการนำเสนอไอเดีย  ภายใต้โครงการนวัตกรรมฟรี  ไม่มีดอกเบี้ยที่จัดโดย NIA  เราได้รับการประเมินว่า  รับฟังได้  และให้เตรียมการเรื่องการพบกับแหล่งทุน  และผู้ประเมินโครงการทางเทคนิคให้เรา (เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งนอกเหนือขอบข่ายของ NIA)   แต่โชคร้ายที่สถาบันสำคัญ  ไม่มีบุคคลากรที่จะประเมินงานของเราได้  และสำคัญกว่านั้น  คือเราต้องการไขายไอเดียมากกว่าการไปเดินหาเงินทุน 26 มิถุนายน 2560 กับการได้รับแจ้ง  ยืนยันการจดทะเบียนลิขสิทธิ์  ความคิด (แม้นจะไม่ได้เป็นการผูกขาดความคิด  แต่ร่องรอยการยื่นรหัสโปรแกรมไว้เป็นการอ้างอิง  ย่อมหมายถึง  เราคือ  กลุ่มนักพัฒนาชุดแรก  ที่คิดค้น …
Read more

คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก คิดดี วิธีการถูก ไปรอดแน่ไทยแลนด์

18/8/2018 ดึกมากทีเดียว  สำหรับการแคะแกะบทความนี้  เป็นการถอดบทสนทนาของทีมงาน  ว่าด้วยการเดินทางไกลมาถึงจุดสำคัญของ  พวกเราทีมงาน  สมองไทยแลนด์ เริ่มต้นอย่างนี้ว่า  …. หากจะให้มองกันเป็นมิติองค์ประกอบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคไอที   และลึกลงมาถึงการสร้างเครื่องมือจากไอที   หรือแอพพลิเคชั่น  หรือซอฟต์แวร์ในระดับชั้นต่าง ๆ  ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจในยุค ไทยแลนด์ 4.0  หรือ  ฝันของคนไทยหลายคน (ไม่อยากเขียนว่าของคนไทยทุกคน  เพราะหลายคนไม่อยากเดินไปทางนี้) ขออธิบายและชวนท่านคุยด้วยรูปนี้ คำถามนำที่สำคัญ ๆ คือ  ในรูปด้านล่างนี้  อะไรคือ Application ? Platform ? Infrastructure  ? Standard หรือมาตรฐาน ? หรือ Enterprise Service Bus ? ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b5/Cloud_computing.svg/994px-Cloud_computing.svg.png Application   คือ  ซอฟต์แวร์  ที่ถูกโปรแกรม  ล่วงหน้ามาให้ทำงานเฉพาะอย่าง  และถูกทดสอบมาจนเป็นที่มั่นใจ  แอพพลิเคชั่นมันถูกสร้างและติดตั้งอยู่ในเครื่องฯ  ต่าง…
Read more

FAQ – Samong Thailand

คำถามที่ถามกันบ่อย คุณกำลังทำอะไรกัน ? สร้างเครื่องมือสำหรับช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์  แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ สามารถทำงานได้เร็วขึ้น   ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลในภายหลัง  รวมๆ แล้วลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50%  เทียบกับการพัฒนาแบบฮาร์ดโค้ด  ฮาร์ดคอร์ทั่วไป มันช่วยนักพัฒนา  จัดการกับฐานข้อมูลได้รวดเร็ว  เที่ยงตรง  ซ่อมแซมฐานข้อมูลในภายหลังได้ เหมือนกับจำพวก phpMyadmin   นักพัฒนาสามารถขยาย  เพิ่มเติมจำนวน filed ได้อย่างง่ายดาย  ตามความต้องการของลูกค้า ไม่ต้องรื้อโค้ด ไม่ต้องวุ่นวายกับฐานข้อมูล  ไม่ต้องพกพาเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลแบบแต่ก่อน  แค่นี้ก็สุด ๆแล้ว และเราเองจะใช้มันสร้างแอพพลิเคชั่นเองด้วยอีกจำนวนมาก  ในระยะเวลาอันสั้น สุดท้ายเลย  เรามีชุดที่เรียกว่า Samong Studio  ที่ทำานอย่างที่ว่านี่แหละ   มันเร็วมาก อีกเรื่องนะ  คือ เราจะเปลี่ยนประเทศไทย  ลองดูคลิปนี้นะ  ใช้ทำแอพพลิเคชั่นอะไรได้บ้าง ? นึกไม่ออก  ว่าทำอะไรไม่ได้บ้าง  เพราะแค่ความสามารถพื้นฐานและ component  ที่มีอยู่ของ RAD Delphi  ก็มากมายก่ายกองแล้ว  ใช้กันไม่หวาดไม่ไหว…
Read more

อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ และสติ
สู่ “สมองไทยแลนด์”

กำเนิด..สมองไทยแลนด์ …. ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์   คือใช้สติ iSTEE ธาตุ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) เป็นเครื่องมือสร้าง Samong middleware Application   เปรียบเหมือนเป็นแผ่นดิน   ที่เราไม่เคยมี Middleware หลังจากนั้นล่ะ   การเริ่มปลูกระบบ  หรือการปลูก  มังคุด  ละมุด  ลำไย  มะเพือง  มะไฟ  มะกรูด  มะนาว  มะพร้าว  ส้มโอ   คือการใช้ประโยชน์จากแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์แล้ว   ผลไม้พันธุ์ดีจึงจะเติบโต  สืบพันธุ์  ต่อไปได้ด้วยดี …. เริ่มต้นด้วย .. ATOM.S001 บริหารสมดุลชีวิต Samong.ME สำหรับส่วนบุคคล Samong.BIZ สำหรับส่วนธุรกิจ …. ชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นนำมาประกอบเป็น Application สร้างงาน สร้างรายได้ ให้นักพัฒนาระบบ รวมเป็น มาตรฐานหนึ่งเดียว…
Read more

แบไต๋ iSTEE ตอน 2 เจได เจอ เจได ?

            ความเดิมในตอนที่แล้ว  ผมได้นำเอา  บทการเสวนาตอนหนึ่งที่ผ่านมาในสองสามวันนี้  ตอนก่อนนั้นเราได้แสดงให้เห็นถึง  ความพร้อม  ความมีร่องรอย ในการพัฒนา   การมีมาตรฐานในการอ้างอิงย้อนหลังได้   อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งาน วิวัฒน์กรรม ชิ้นนี้มีคุณค่า   ไม่สูญหายไปจากโลกไปนี้    และมันจะช่วยให้การพัฒนา ของเฟรมเวิร์กชิ้นนี้  เป็นไปได้อย่างไม่สะดุด  แม้นว่า  เจได  ท่านใดท่านหนึ่งจะล้มหายตายจากกันไป  … วันนี้ผมจะนำเอา  การสนทนาของสองท่าน   ที่ท่านนึง   ผมถือว่าฝีมือและประสบการณ์รวมไปถึงแนวความคิดที่เปิดเผย  ตรงไปตรงมา  มีการรับฟังและการตั้งคำถามที่ดุดันในเนื้อหา  แต่อ่อนโยนในท่าที   และน่าจะเรียกว่าเป็น “เจได”  ในสายตาของผม  และอีกท่านหนึ่ง  คือ “เจได” ผู้พัฒนา   ในตอนนี้ ผมจะแยกแยะบทการสนทนาออกเป็นอักษรที่มีสีที่แตกต่างกัน   โดยบทสนทนาของผมเองจะเป็นสีน้ำเงิน  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ตอน   และผมนั่งฟังซะเป็นส่วนใหญ่  ส่วนที่เหลือท่านก็จะเข้าใจได้ว่า…
Read more

แบไต๋ iSTEE มีดีอะไร ?

iSTEE มีดีอะไร ?   เราเชื่อว่านี่คือคำถาม  จากหลายท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ของเรา แน่นอนครับ  การเปิดตัวกับสาธารณะแบบนี้ว่าเราคือ Middleware หรือ เฟรมเวิร์ก  ย่อมมีความเสี่ยงต่อการถูกท้าทายจากบรรดาเซียนโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย  รวมทั้งจะสร้างความน่าเบื่อให้กับผู้เยี่ยมชมเวบไซต์นี้  ว่าเมื่อไหร่จึงจะมีแอพพลิเคชั่นดีๆ ออกมาให้ได้ชมกันเสียที  ….. วันนี้เราจะนำท่านมาชมในลักษณะการ  …แบไต๋ของ iSTEE  … กันแบบเห็น ๆ   แต่จะเป็นการเผยแพร่ในระดับของการหลักการคิดก่อน  ว่าเบื้องหลังการพัฒนานั้นมีลำดับขั้นตอนอย่างไร …. กล่าวคือ  หลักคิดง่ายๆ  ในการพัฒนา  iSTEE  ซึ่งเป็นแกนของระบบ Middleware ของเรานั้น   ยึดหลักธรรมชาติแห่งการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และจำเป็นต้องดับไป  และกระทั่งการบรรลุนิพพาน  และรวมกับหลักการ อริยสัจ 4  คือ  ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค   หรือ  ทุกข์ หรือปัญหา   สาเหตุ  วิธีการ  …. ซึ่งในทางเทคนิคการพัฒนาซอฟท์แวร์ในระดับสากลก็ได้ใช้หลักคล้ายๆ…
Read more