Category: Thailand4.0

Digital Multiverse Ecosystem

5G กับทิศทางของ สมองไทยแลนด์

ข่าวคราวความคืบหน้าในการเปิดบริการ 5G ที่มีความเร็วจาก 4G อีกหลายเท่าตัว  คือตัวเร่งอัตราการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับชีวิตประจำวันและธุรกิจ ไอโอที  เทคโนโลยีผสมผสานระหว่าง ฮารด์แวร์และซอฟต์แวร์  ก็จะยิ่งเข้ามามีส่วนในแวดวงได้เร็วขึ้น ดิจิทัลแพลตฟอร์มขนาดใหญ่จะทำงานได้อย่างลื่นไหล  สะดวกสบายมากขึ้น ภาคธุรกิจจะขยับตัวไปให้บริการ  โดยมีดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นสื่อกลางได้มากขึ้น จึงกล่าวได้ว่า  แทบจะไม่มีธุรกิจใดที่จะอยู่รอดได้โดยไม่เข้าสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม มันคืออะไร ? มันคือ  ระบบรวมของแอพพลิเคชั่ขนาดใหญ่  ที่จะต้องรองรับการใช้บริการของผู้คนได้จำนวนมาก  ประสิทธิภาพดี  มีความปลอดภัย  มีประโยชน์  สร้างรายได้แก่ผู้เี่ยวข้อง  ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ความสำเร็จของธุรกิจจะเกิดขึ้นได้จึงต้องอาศัยความเป็นเลิศของ 2 อย่างเป็นขั้นต่ำคือ   การบริการที่เป็นเลิศ  และระบบแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ  ต้นทุนต่ำปรับตัวตามเทคโนโลยีได้ทัน จุดตัด  จุดความสำเร็จ  คือ  ดิจิทัลลแพลตฟอร์ม นั่นเอง ความยากของดิจิทัลแพลตฟอร์ม  เริ่มตั้งแต่การคิด Business Model ที่ถูกต้อง  การพัฒนาด้วยต้นทุนที่เหมาะสม  การบำรุงรักษาที่ไม่เป็นภาระของผู้ลงทุน เราจึงเห็นร้านค้าออนไลน์หลายเจ้าต้องปิดไป  เพราะเรื่องสมรรถนะของแพลตฟอร์มที่ตำ  หรือต้นทุนสูง  หรือการไม่มีคนดูแล  หรือการไม่มีเงินทุนบริหารแพลตฟอร์มให้ฝ่าช่วงฤดูมรสุมไปได้ ย่างปีที่ 4 ของสมอง(ไทยแลนด์)  ที่ปีนี้เราเปิดความสัมพันธ์  สร้างความร่วมมือกับหลายภาคธุรกิจ  อุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา …
Read more

Smart City Infrastructure

มาติดตามข่าวสาร เส้นทางการก่อร่างสร้างเมืองอัจฉริยะ ในบ้านเมืองเรากัน วันนี้วันที่ 14 ธันวามคม 2562 หลายปีมานับแต่มีการประกาศสร้างเมืองอัจฉริยะ ด้วยธงนำ SIPA จนมาถึง DEPA ภายใต้ธง กระทรวง DE ที่ปัจจุบันนำโดย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ที่วันนี้ มีอีกกองทัพคือ NIA เส้นทางสายกระทรวง ที่ปัจจุบันนำโดย ท่าน ดร สุวิทย์ เมษินทรีย์ ในด้านภาคเอกชน ยักษ์ใหญ่สื่อสาร AIS True CAT ที่ถือดาบเล่มถนัดมือคือ NB-IOT และ Lora พร้อมประกาศ DataCenter ให้เป็นที่พักพิงของ Big Data พร้อมการประกาศแสวงหาช้างเผือก Start Up เจ้าของไอเดียเมืองอัจฉริยะ DEPA เปิดโครงการ เมืองอัจฉริยะ เหนือ ใต้ ออก ตก ขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ขับเคลือน EEC…
Read more

เมื่อสิงคโปร์ยึด “พลเมืองคือศูนย์กลาง” เมืองอัจฉริยะ

ผมอ่านบทความนึงว่าด้วย เมืองใหม่สิงค์โปร์ ที่มุ่งเน้นเอาพลเมืองเป็นศูนย์กลาง ก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ หรือ SmartCity เป็นคำที่ได้รับการกล่าวถึงกันมาก และมีข่าวคราวการขับเคลื่อนกันอย่างต่อเนื่องทั้งจากรัฐบาล และกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ทั่วไทย รวมทั้งกลุ่มของพวกเราด้วย ที่จะไม่ยอมตกกระบวนกับเขา องค์ประกอบของความเป็นเมืองอัจฉริยะบ้านเราที่จะได้รับการสนับสนุนติดป้ายรับประกันภัย โดยรัฐบาล ก็เหมือนแขวนป้ายเชลชวนชิมในสมัยก่อนนั้น ที่ได้ถูกกำหนดว่าจะต้องพัฒนาให้มีรสชาติดี หรือมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หรือ Smart Environment และอีกด้านหนึ่ง คือ 1 ใน 6 ด้านที่เหลือ เช่น Smart Energy, Smart Mobility, Smart Government, Smart Education, Smart Health , Smart Life อะไรทำนองนี้ จะว่าไปแล้ว เป้าหมายการสร้าง Smart City คือ การตอบสนองให้ผู้คนในสังคมนั้น ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สะดวก…
Read more

เมื่อ Samong และ iSTEE ก้าวสู่เวทีอาเชียน

วันนี้  17 สิงหาคม  2562  เวบไซต์  DIA  ได้ครบกำหนดประกาศผลการคัดเลือกการแข่งขัน หาตัวแทนภาคนักศึกษาและผู้ประกอบการ  ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐ หนึ่งใน  10 ทีม (รายการ DIA)  และ หนึ่งใน 20 ทีม (รายการ  AODC)  นั้น  มีชื่อ  โครงการ  G-SAMONG  สติดิจิทัล  ที่ส่งเข้าประกวดโดย  ทีมงานสมองไทยแลนด์  ในนาม  สมองซอฟต์แวร์   ที่รอฟังผลการประกาศ เป็นขณะเวลาที่น่าตื่นเต้น  และภาคภูมิใจว่า  แนวคิด  ความลึกล้ำ  สิ่งที่เราเฝ้าพัฒนามาอย่างยาวนานและหาคนเข้าใจยากนั้น  ได้ผลิดอกออกผลระดับหนึ่งแล้ว  ขอบคุณที่กรรมการชุดนี้มองงานของเราได้ทะลุและเข้าใจแนวทางทั้งหมด  และให้ได้รับการคัดเลือกไปแข่งขันในประเภทในกำกับของ  Microsoft  โดยมีคู่แข่งคือ  ทีมจากต่างชาติอีก  3 ทีมที่ประกวดในประเภทนี้  และมีจำนวนทีมโดยรวมเพียง 10 ทีม  โดยการแข่งขันจะจบสิ้นลงประมาณปลายเดือน  กันยายน 2562  (ที่จะต้องรอความคืบหน้ากันต่อไป) โดยในข้อเสนอ  นอกจากจะเป็นการอธิบายแนวคิด  และยกตัวอย่างงานที่เราพัฒนาไปแล้วนั้น  เรายังยกตัวอย่างและให้คำมั่นว่าเราจะทำการสร้างระบบที่เชื่อมต่อกับระบบ Opendata …
Read more

เกษตรดิจิทัล ดูแล ปกป้อง เข้าใจเกษตรกร

ขอขอบคุณภาพจาก  https://www.challenge.org/resources/agriculture-trends-in-2019/ บทความที่แล้วเราได้นำเสนอการแปลบทความภาษาอังกฤษ  ที่ได้อธิบายถึงรูปแบบของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ  ว่ามีองค์ประกอบเช่นไร  มีพัฒนาการอย่างไร  และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเกิดการรวมกันของเทคโนโลยี  IIOT,  AI, Robot, Machine learning  ที่มีตัวขับเคลื่อนสำคัญคือ  การสื่อสารความเร็วสูง  และขนาดของอุปกรณ์ IOT ประสิทธิภาพสูงในการประมวลผล  ในระดับราคาที่ผู้ประกอบการเป็นเป็นเจ้าของได้  จนทำให้เกิด  Digital Twin ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมาแล้ว วันนี้  และด้วยหลักการเดียวกัน เราจะนำเสนอ  Digital Twin ในภาคเกษตรกรรม  โดยที่มาของเรื่อง  คือ  การที่เราจะแสดงให้เห็นว่า   เรา  ดูแล  ปกป้อง  เข้าใจเกษตรกร  เกษตรกรรมได้ในรูปแบบไหน พร้อมๆ กันนี้อยากให้ได้ชมสไลด์อันหนึ่ง  ที่โพสต์ออกมาในระยะ  2 – 3 ปีนี้  ว่าด้วยแนวคิด  Digital Twin  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ  หรือว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันในการที่เราจะสร้าง  Digital Twin ในภาคการเกษตรกรรม แรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกษตรกรต้องเดินทางไปถึงจุดนั้น  คือ  การแข่งขันด้านราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร  ที่จะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมมีคุณภาพดี  สม่ำเสมอมีต้นทุนการต่ำลงให้สามารถแข่งขันได้ …
Read more

Digital Twin สวนมีชีวิต สานเศรษฐกิจเกษตรกรมั่งคั่ง

สวัสดีครับ  เจอกันอีกครั้งครับ วันนี้ต้องปรบมือให้กับความก้าวหน้าของทาง  DEPA มากๆ เลยครับ  ที่ผ่านมาในรอบใกล้จะ  2 ปี  ที่  DEPA  ได้มีการปูพื้นทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไว้ดีทีเดียว และในหลาย ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน  แต่วันนี้ขอชมกันแค่ด้านเดียวก่อน  นั่นคือ  เรื่อง  การจัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญๆ  ที่จำเป็นสำหรับเป็นเครื่องกำหนดทิศทางของเหล่านักเดินทาง  StartUp และผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก ใช่ครับ  การตัดสินใจเพื่อเดินหน้าการทำธุรกิจ  หรือการพัฒนางานใหญ่ ๆ ซักงานหนึ่ง  จำเป็นต้องตัดสินใจจากการคิดวิเคราะห์จากข้อมูลที่สำคัญให้รอบด้าน ผมยกตัวอย่างเลย  ว่าจากตารางข้อมูลนี้  ซึ่งมีที่มาจากฐานข้อมูลเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น  บอกได้ชัดเจนมากๆ ว่า  กำลังเกิดอะไรขึ้น  และประเทศนี้ต้องการอะไร ? ตารางแรกนี้  เป็นการบอกว่า  บริษัท ฯ กิจการ  ซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก  และขนาดกลางกำลังจะตายในไม่ช้านี้ (สาเหตุก็เรื่องต้นทุน  แหล่งทุน  ช่องทาง  ความยอมรับคนไทยของคนไทย)  แม้นแต่รายใหญ่ๆ เองก็มีแนวโน้มไม่ดี  มีผลกำไรที่ลดลง  โดยที่กำไรสุทธิอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายเท่านั้น …
Read more

จิ๊กซอว์ ทิศทาง Digital Thailand

องค์ประกอบนวัตกรรม  จำเป็นต้องประกอบด้วย  แนวคิด  เครื่องมือ  และการขับเคลื่อนที่ใช่  โดยเริ่มต้นที่แนวคิดที่ใช่  แล้วค่อยถามหาเครื่องมือ และการขับเคลื่อน … กลับมามอง  แนวคิด  การขับเคลื่อนประเทศไทย  หรือ การ Digital Thailand  ที่จะทำให้เป็นประเทศแห่ง  ดิจิทัล โดยใช้องค์ประกอบข้างบนมาถามว่า  จะ Digital Thailand  ได้อย่างไร ?  แนวคิด  เครื่องมือ  และ การขับเคลื่อน  คืออะไร ?  … ภาพนี้เป็นภาพจากเวบไซต์  http://zdnet.com/blog/hinchcliffe   by Dian Hinchcliffe  เป็นภาพการเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะองค์กรในปัจจุบัน  และองค์กรแห่งอนาคตอันใกล้  … ภาพด้านซ้าย  คือภาพองค์กรในปัจจุบัน   ที่มี  ลักษณะ  6 ประการ มีหน่วยงานที่เป็นเหมือน  Data Center  ต่างคนต่างเก็บ มีกระบวนการทำงานแบบ  Water Fall ไปตามขั้นตอน  ที่ใช้เวลามากยาวนาน  เพื่อการพัฒนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง…
Read more

เล็ก ๆ ไม่ ใหญ่ ๆ เราทำ !!

” โครงการ ที่ใหญ่พอ…  จะดึงดูดทรัพยากรมาได้! โครงการเล็ก Disruption ทีเดียวเจ๊ง คุณค่าที่ส่งมอบ..ให้ตลาดที่มากพอ  คือการเติบโต “ ข้อความข้างบนนี้ ผมได้มาจากกูรู  นักพัฒนา  นักฝัน  นักนวัตกรรมท่านนึง “เล็กๆ  ไม่  ใหญ่ ๆ เราทำ”  หลายท่านคงจะคุ้นหูเป็นอย่างดี   เป็นของเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่ง พวกเรา  สมอง ไทยแลนด์  ก็เช่นกัน  คิดใหญ่  ทำใหญ่  จริงๆ  ครับ เราเชื่อว่า  “โครงการ  ที่ใหญ่พอ  จึงจะดึงดูด  ทรัพยากรมาได้”    ก็แน่ละครับ  หากไม่ใหญ่ทั้งแนวคิด  ทั้งขนาดธุรกิจ  ก็คงยากที่ใครจะมาร่วมหอด้วย  หรือถ้าคิดใหญ่แต่ไม่เป็นสัปปะรด  หรือเป็นไปไม่ได้  ไม่มีของดีจริง  ก็ไม่เกิดเช่นกัน “โครงการเล็ก  Disruption ทีเดียวเจ๊ง”  นี่ก็ใช่อีก   ลองนึกถึงธุรกิจอะไรก็ได้  ที่มันง่าย  ไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่ลึกลับซับซ้อน  มันก็จะโดนกอปปี้ง่าย  ทำเงินได้ขายได้แปปเดียว  พรุ่งนี้ก็มีคู่แข่ง  แม้นแต่ในแวดวงเทคโนโลยีเองก็เช่นกัน  เช่น  กลุ่มธุรกิจให้บริการทำเวบไซต์ …
Read more

อนาคตเศรษฐกิจไทย

สวัสดีครับทุกท่าน น่าเป็นห่วงกับข่าวคราว  ประเทศมหาอำนาจ  ประกาศทำนาข้าวในพื้นที่ที่ไม่น่าจะปลูกข้าวได้  จากที่ไม่เคยทำแต่ต่อไปจะกลายเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ป้อนตลาดโลก  และจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเดิมอย่างประเทศไทยเป็นอย่างมาก ไหนจะข้าว  ไหนจะทุเรียน  ไหนจะปาล์ม  แทบทุก ๆ อย่างที่เราเคยเป็นผู้นำ  อีกไม่ช้า  เราอาจจะไม่มีโอกาสส่งออกกันอีกเลย  แล้วเราจะมีมาตรการป้องกันอย่างไร  ใครที่ไหนจะช่วยแก้ไขปัญหาในอนาคตให้คนไทยได้ นอกจากการเกษตรแล้ว  เรายังมีเรื่องการท่องเที่ยว  การบริการและอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ที่อุตสาหกรรมหลายอย่าง  ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีของเราเอง เรามีรัฐบาล  เรามีกองทัพ  เรามีนักวิชาการ  เรามีกระทรวงทบวงกรมต่างๆ  ที่จะต้องเข้ามามีบทบาทให้การช่วยเหลือตามหน้าที่กันไป สำหรับเกษตรกรเองจำเป็นจะต้องช่วยเหลือตัวเองเช่นกัน  ทำอย่างไรจึงจะให้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด  ได้ผลผลิตสูงสุด  มีคุณภาพดี คำตอบคือ  ต้องใช้หลักวิชาการ  ใช้เทคโนโลยี  ใช้พลังงานอย่างประหยัด ชาวสวนทุเรียน  จะต้องมีการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ  จะต้องมีการเก็บผลผลิตตรงกับช่วงเวลาที่เหมาะสม  จะต้องมีช่องทางไปถึงผู้บริโภคได้ง่าย  รัฐบาลต้องมีส่วนช่วยในการต่อรอง  ในการเปิดช่องทาง  การบริการขนส่ง ชาวสวนปาล์ม  จะต้องมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของปาล์มในแต่ละช่วง  มีการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม  มีการตรวจวัดการเจริญเติบโตที่ดี ชาวนา  ก็จะต้องมีความรู้  มีการใช้เครื่องจักร  มีการกำจัดแมลง  มีการใช้น้ำ  มีน้ำให้ใช้อย่างเพียงพอ  มีเครื่องจักร  เกี่ยวข้าวที่ราคาถูก ….…
Read more

ทิศทาง ประเทศไทย “ตู่ 4.0”

ผ่านกันไปกับการแถลงนโยบายรัฐบาล  ตู่ 4.0  หรือ  ตู่สมัย 2 ที่การอภิปรายข้ามวันข้ามคืน  และยังคงไว้ซึ่งความเป็นสภาไทย  ที่เต็มไปศึกเจ้าสำนวนโวหาร   สำหรับคนที่ไม่สันทัดก็นั่งหลับกันไป รอบนี้ก็มี  สส แจ้งเกิด  กันพอสมควร  และ  สส  รุ่น  หลวงพ่อ คสช ก็ไม่ยอมให้เสียเครดิต วาทะกระดุม  5  เม็ด ทำให้ได้  คุณพิธา  ฯ ได้ใจเกษตรกรไปเต็มๆ  ไม่เว้นนักธุรกิจ  ข้าราชการ  หรือแม้นแต่นักการเมืองด้วยกัน  ที่การอภิปรายรอบนี้  ทำให้ทุกคนตาสว่างว่าปัญหาของเกษตรกรไทย  คือ อะไร    และควรจะต้องเริ่มแก้ไขที่ตรงไหน การเข้าถึงโอกาส  การเข้าถึงแหล่งเงินเป็นเรื่องยาก  แต่เป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้มีสินทรัพย์   เกษตรกรจึงได้แต่แหล่งทุนดอกเบี้ยแพง  ในขณะที่คนร่ำรวยได้แหล่งทุนที่แสนถูก  นี่คือ  ความผิดปกติ  ที่ไม่มีใครอยากแก้ให้เบ็ดเสร็จ และเพื่อไม่ให้เสียหน้า  ท่านรองฯ นายก  ก็ บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์  ชาติไทย  ให้  ทุกคนต้องอ้าปากค้าง มาฝั่งท่าน  รมต  ศึกษา …
Read more