Samong IOT กับงานวิจัย คิดจริง ทำจริง

Digital Multiverse Ecosystem

Samong IOT กับงานวิจัย คิดจริง ทำจริง

แวดวงไทยแลนด์  4.0  พูดคุยกันมากครับ  เรื่อง   Big Data  IOT  และ  AI    โดย    3  เรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกัน  ที่พอจะอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า

  • IOT  คือ  ตัวนำเข้า  ข้อมูลจากภาคสนาม  จากการวัดจากระบบงาน  จากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่สนใจ
  • Big Data   คือ  ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เกิดจาก  การบันทึกผ่าน IOT  เช่นการบัยทึกข้อมูลอัตโนมัติทุก ๆ  1 นาที  หรือทุก ๆ 5 นาที  ก็จะทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมาก
  • AI  คือ  ระบบ  อัจฉริยะ  คือ ระบบประมวลผลที่ประยุกต์แล้วว่า  เราต้องการให้ระบบนั้นฉลาดแค่ไหน อย่างไร

ดังนั้น

  • ระบบ AI สำหรับงานใด ๆ  จะไม่เกิดขึ้นหากยังไม่มี Big Data
  • Big Data จะยังไม่เกิดขึ้นหากยังไม่มี IOT

ห่างหายกันไปนานครับการโครงการดีๆ  ไอเดียเด็ด ๆ   จากทีมงาน สมอง ( ไทยแลนด์)

คราวนี้เรามีผลงานโครงการการติดตั้ง IOT  สำหรับการควบคุมการทำงานของสถานีวิจัยการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตร   ร่วมกับ  บริษัท  Inno Green Tech จำกัด  เจ้าของลิขสิทธิ์งานวิจัย   โดยโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการติดตั้งมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว  กระทั่งมาถึงบทบาทของ IOT

โดยเจ้าระบบควบคุม ด้วย  IOT  นี้  จะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบดังนี้

  1. ควบคุมการทำงานปั๊มน้ำตามระดับของ ลูกลอย   รวมปั๊มทั้งหมด  6 ตัว
  2. วัดอัตราการไหลของปั๊มน้ำทั้ง  6
  3. วัดแรงดันของระบบอีก 5 จุด
  4. วัดการใช้กำลังไฟฟ้า โวลต์แอมป์ กำลัง
  5. วัดค่า pH, EC, Temp compensation
  6. และระบบจะต้องทำงานในโหมด Auto Manual ได้  สั่ง Start Stop ได้
  7. บันทึกค่าจำนวน 20 พารามิเตอร์ขึ้น Server ได้
  8. สั่ง ปรับค่า calibrate  เครื่องวัดต่าง ๆ ได้ ผ่านทาง Internet
  9. ใช้การสื่อสารผ่าน Lan  หรือ wifi
  10. มี Data Logger
  11. มีพัดลมควบคุมอุณหภูมิภายในตู้
  12. จอแสดงผล  LCD

โดยจะต้องให้ทำงานได้สมบูรณ์  ประหยัด  ปลอดภัย  ใช้อุปกรณ์ Arduino ให้น้อยที่สุด

คำถามคือ  จะต้องใช้  เจ้า IOT  รุ่นไหนดี     เพราะจะเห็นว่าต้องใช้  input  output  เยอะมาก ๆ  คือ

  • Analog Input  =  11 (pH,EC, millivolt, temp )
  • Digital Input =  6 (ระดับน้ำ)
  • Interrupt = 6 (flow meter  6 ตัว)
  • Serial Port = 1 ชุด
  • PZEM 004T – Energy port = 1 ชุด

จะเห็นว่า

  • UNO ตัวเดียวรับไม่ไหว
  • จะเห็นว่าAT Mega  น่าสนใจ  
  • จะเห็นว่า  DUE ก็น่าสนใจ

ผลการทดสอบสรุปได้ผลดังนี้ครับ

  • DUE   มันเป็น  32 บิตทำงานเร็วมากสุดยอดเลยโดยเฉพาะการอ่าน port interrupt  และมี port interrupt เยอะ  เพราะ Digital pin มันใช้ทำ  interrupt  ได้ทุกขา  แต่น่าเสียดาย  Software Serial ใช้การไม่ได้บน DUE รุ่นนี้  เลยต้องทำใจ  เก็บไว้ใช้งานหน้าที่ไม่ต้องการ ใช้ Software Serial
  • AT Mega จึงเป็นตัวเลือกที่ดี   แต่ใช้  Interrupt Port ได้เพียง 4 ขา  คือ  2,3,18,19  ส่วน 20,21 ต้องเก็บไว้ใช้กับจอ LCD  มันโยกไปใช้ ขา SDA1, SCL1   ไม่ได้  เป็นความผิดพลาดที่ชาว Arduino ตำหนิ  Mega กันขรม
  • ในเมื่อจะต้องใช้ flow  ให้ได้อีกตัว  ก็เดือดร้อนต้องหา UNO มาวัด  flow  โดยใช้ขา interrupt 2  แล้วพ่วงเข้า  Software Serial port
  • และเจ้า pzem ตัววัดพลังงานไฟฟ้า  ก็ต้องย้ายไปเกาะเข้า  Serial Port 3 (ขา 14,15)   วางไว้ที่  16,17 ไม่ได้

ผลการทดสอบฉลุยครับ    โดยรอบการทำงานก็จะช้าหน่อยแต่ก็พอรับได้คือราว ๆ 30 วินาทีต่อรอบ  โค้ดยาว  พันกว่าบรรทัด  รวม 56 KByte    และให้ส่งค่าไป Server ทุกๆ 5 นาที

มีภาพมาให้ชมกันคร่าว ๆ ครับ  สำหรับโค้ดและระบบ Server ต้องขอสงวนไว้ครับ  ที่จะไม่นำมาเปิดเผยในที่นี่

  

ลุยเองกันเต็ม ๆ ยาวๆ  3 วันเต็ม ๆ

 

    Arduino DUE 32 bit prcessor  Arduino AT Mega 

Application  Samong IOT

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการนี้ได้ใช้  แพลตฟอร์ม Server  “Samong IOT”  verison 1   ที่พัฒนาขึ้นมาเองอย่างเต็มที่  ทำให้มีความยืดหยุ่น  เพิ่มเติมฟังก์ชั่นได้ตามความต้องการ   โดยแพลตฟอร์มนี้จะได้รับการพัฒนาไปสู่แพลตฟอร์มขนาดใหญ่  ที่จะสามารถบริหารจัดการระบบควบคุมได้ไม่จำกัดจำนวน  และไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ

 ภาพรวมของชุดอุปกรณ์

จากโครงการนี้จะเป็นโครงการนำร่อง ของงานบำบัดน้ำเสีย  เปลี่ยนน้ำที่มีกลิ่นรุนแรง  มาเป็นน้ำที่ไม่มีกลิ่นได้อย่างมหัศจรรย์   ที่จะนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสังคม  รวมทั้งจะเป็นการแสดงให้เห็นซึ่งศักยภาพของงาน IOT

Samong  IOT  คือ  อีกโครงการจาก  สมอง (ไทยแลนด์)    ติดตามบทความด้าน  IOT ได้ที่    http://samongiot.com

3433total visits,3visits today

Leave a Reply