Smart City Infrastructure
มาติดตามข่าวสาร เส้นทางการก่อร่างสร้างเมืองอัจฉริยะ ในบ้านเมืองเรากัน วันนี้วันที่ 14 ธันวามคม 2562 หลายปีมานับแต่มีการประกาศสร้างเมืองอัจฉริยะ ด้วยธงนำ SIPA จนมาถึง DEPA ภายใต้ธง กระทรวง DE ที่ปัจจุบันนำโดย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
ที่วันนี้ มีอีกกองทัพคือ NIA เส้นทางสายกระทรวง ที่ปัจจุบันนำโดย ท่าน ดร สุวิทย์ เมษินทรีย์
ในด้านภาคเอกชน ยักษ์ใหญ่สื่อสาร AIS True CAT ที่ถือดาบเล่มถนัดมือคือ NB-IOT และ Lora พร้อมประกาศ DataCenter ให้เป็นที่พักพิงของ Big Data พร้อมการประกาศแสวงหาช้างเผือก Start Up เจ้าของไอเดียเมืองอัจฉริยะ
DEPA เปิดโครงการ เมืองอัจฉริยะ เหนือ ใต้ ออก ตก ขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ขับเคลือน EEC ก่อสร้างตึก Digital Hub, Silicon Valley เมืองไทย
สาย Maker ภาคประชาชน เรียนรู้ Digital IOT พร้อมสร้างรายได้จากโครงการขนาดเล็ก กลางใหญ่ บ้างที่ผ่านเวทีประกวด Maker และได้รับการสนับสนุนจาก DEPA ให้พัฒนาโครงการไปโดยน้ำพักน้ำแรงของ StartUp และ กำลังทุนจากโครงการได้พอย้อมใจ โอกาสรอดก็ขึ้นอยู่กับกำลังใจและกำลังทุน
หลายรายเริ่มบ่นออกมา ว่ามันไม่ง่ายเลย แน่นอนครับ เทคโนโลยีที่จะดีพอที่จะให้มีคนจ่ายเงินให้อย่างสม่ำเสมอนั้นจะต้องมีความแม่นยำ เสถียรภาพดีเพียงพอ ที่จะให้ Smart Farm ได้ผลดีจริงๆ และไม่เป็นการไปทำลายฟาร์มจนเสียหายเพราะความผิดพลาดของระบบ
สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) และ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) จะรอดไม่รอด จึงต้องมีความพร้อม ความแม่นยำ ล้ำลึกที่ดีพอสมควร
จากภาพเป็นตัวอย่าง อธิบาย สถาปัตยกรรม SmartCity แบบง่าย ๆ กล่าวคือ
การจะเกิด Smart Services ที่ดีแม่นยำ ถูกต้องได้จริงๆ จะต้องเกิดจากการทำงานในขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับสูง (High-level intelligence and analytics) ที่จะต้องมีความสามารถด้านการเก็บตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Sampling) มีการนำข้อมูลกลับมาใช้งาน (Data Recycling) และจะต้องมีต้นแบบการวิเคราะห์ที่สามารถขยายตัวได้ (Scalable Model) ทั้งขนาดและความเร็วและความหลากหลาย
กระบวนการวิเคราะห์ในขั้นสูงต้องการปัจจัยที่สำคัญคือ ต้องการ Big data หรือ Smar City Big data คือ ฐานข้อมูลสารพัดเรื่อง ของเมืองนั้นๆ โดยสถานที่พัก จัดเก็บข้อมูล คือ data center ที่อาจจะกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ แต่ก็จะต้องพร้อมที่จะนำมาประมวลผลได้ตามต้องการ ทั้งจะต้องมีความปลอดภัย มีการดูแลรักษาได้ยาวนาน รวมทั้งความสามารถในการกำจัดขยะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไป เพื่อลดภาระการจัดเก็บข้อมูล
อย่างไรคือ ฺBig Data มันจะต้องมีความสามารถรองรับความหลากหลาย ปริมาณข้อมูลที่มากเติบโตขึ้น และยังต้องมีความรวดเร็ว แม้นขนาดข้อมูลจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
การเกิดขึ้นของ Big Data ที่จะมีมาได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลระเบียนราชการ โรงพยาบาล สถานศึกษา ธุรกิจ บริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรมต่างๆ รวมไปถึง data ที่เกิดขึ้นจากบรรดา Sensor ต่างๆ ที่จะถูกติดตั้งอยู่ในระบบ ในส่วนต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป
รัฐบาลมีความหวัง ต้องการให้เกิดเมืองอัจฉริยะขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย และมันควรจะมีส่วนช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ และยกระดับเศรษฐกิจได้
ยักษ์ใหญ่สื่อสาร พร้อมที่จะรองรับการไหลของข้อมูล เพื่อไปเก็บยัง data center
Maker และผู้จำหน่าย IOT device ก็พร้อมที่จะนำข้าวของมากองให้หยิบไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ
แล้วประเทศกำลังรอ กำลังต้องการอะไร ?
หากไม่นับเรื่องเงินทุนแล้ว สิ่งที่รัฐบาลและประเทศนี้กำลังรอ คือ เทคโนโลยี และนักพัฒนาที่ใช้เทคโนโลยีนั้นได้ดี เพื่อเข้ามาสร้างงาน สร้างการเชื่อมต่อระบบเมืองอัจฉริยะ ที่นับจากตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบระบบ Big Data Data Center ไปจนถึงการเชื่อมต่อ Device ต่างๆ จำนวนนับแสนล้านชิ้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้ระบบการวิเคราะห์ในระดับสูงได้ทำการประมวลผลเพื่อให้เกิดการบริการอัจฉริยะออกมา
ตัวอย่างบริการอัจฉริยะ เช่น ระบบจราจรอัจฉริยะ เพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร ให้มีความคล่องตัวตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมงและเป็นไปได้ด้วยดีในทุกวัน ทั้งปี รวมไปถึงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ที่ความหนาแน่นของรถในระยะเวลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน
คำถามที่ปวดกบาลสำหรับคนสร้างระบบคือ
- จะติดตั้งระบบ Sensor ที่ไหนกันบ้าง
- จะต้องวัดจำนวนรถ ประเภทรถ จำนวนคน แล้วจะเก็บข้อมูลอย่างไร
- จะประมวลผลอย่างไร และแสดงผลให้ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ใช้ผลการวิเคระาห์อย่างไร
ฟังๆ ดูแล้วก็ไม่น่าจะยากอะไร หากเรามีเครื่องมือมหัศจรรย์ มารองรับการพัฒนาระบบ ที่มีฐานข้อมูล มีการเชื่อมโยงที่ซับซ้อน ขณะเดียวกันจะต้องมีความแม่นยำ และรวดเร็ว
โอ้แม่เจ้า เครื่องมือมหัศจรรย์ คืออะไร อยู่ทีไหน แนวคิดการออกแบบระบบที่โคตรมหัศจรรย์นั้น คืออะไร ใครคือคนนั้น
บางที่ ความมหัศจรรย์นั้น คือ ความธรรมดา จากธรรมชาติ ที่ธรรมชาติให้มา แต่เรามักไม่แสวงหาความจริงจากสิ่งรอบตัว
5718total visits,2visits today