เกษตรดิจิทัล ดูแล ปกป้อง เข้าใจเกษตรกร
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.challenge.org/resources/agriculture-trends-in-2019/
บทความที่แล้วเราได้นำเสนอการแปลบทความภาษาอังกฤษ ที่ได้อธิบายถึงรูปแบบของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ว่ามีองค์ประกอบเช่นไร มีพัฒนาการอย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเกิดการรวมกันของเทคโนโลยี IIOT, AI, Robot, Machine learning ที่มีตัวขับเคลื่อนสำคัญคือ การสื่อสารความเร็วสูง และขนาดของอุปกรณ์ IOT ประสิทธิภาพสูงในการประมวลผล ในระดับราคาที่ผู้ประกอบการเป็นเป็นเจ้าของได้ จนทำให้เกิด Digital Twin ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมาแล้ว
วันนี้ และด้วยหลักการเดียวกัน เราจะนำเสนอ Digital Twin ในภาคเกษตรกรรม โดยที่มาของเรื่อง คือ การที่เราจะแสดงให้เห็นว่า เรา ดูแล ปกป้อง เข้าใจเกษตรกร เกษตรกรรมได้ในรูปแบบไหน
พร้อมๆ กันนี้อยากให้ได้ชมสไลด์อันหนึ่ง ที่โพสต์ออกมาในระยะ 2 – 3 ปีนี้ ว่าด้วยแนวคิด Digital Twin ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรือว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันในการที่เราจะสร้าง Digital Twin ในภาคการเกษตรกรรม
แรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกษตรกรต้องเดินทางไปถึงจุดนั้น คือ การแข่งขันด้านราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร ที่จะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมมีคุณภาพดี สม่ำเสมอมีต้นทุนการต่ำลงให้สามารถแข่งขันได้ เทคโนโลยีจึงเป็นคำตอบสำหรับภาคเกษตรกรรมเช่นกัน
ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ก็จะเป็น Enablers ให้กับการเกษตรอัจฉริยะ
- การตรวจวัดสถานะสิ่งแวดล้อมของฟาร์ม การติดตามการเติบโตของพืชผลด้วยไอโอที
- การสื่อสาร เก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์เงื่อนไขการเจริญเติบโตของพืช
- และการให้การบำรุงให้ปุ๋ยด้วย โดรน การขนส่งลำเลียงสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ เหล่านี้คือ Enablers ของภาคเกษตรกรรม
- เครื่องทุ่นแรงในการไถนา ด้วยรถไร้คนขับ เป็นต้น
Digital Twin คือ Virtual System คือแพลตฟอร์มที่เกิดจากการพัฒนาสร้างเป็นระบบขนาน ระบบจำลองของระบบเกษตรทางกายภาพ มีตัวเซนเซอร์ไอโอที ช่วยวัดและสร้างข้อมูล ส่งผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารไปเก็บยังระบบศูนย์ข้อมูล ที่จะสามารถประมวลผล จำลองเป็นฟาร์มคู่ขนาน และมีการประมวลผลว่าจะให้ฟาร์มทางกายภาพดำเนินการอย่างไร เช่น เพิ่มอัตราการป้อนสารบำรุงใบ ดอก ผล หรือเพิ่มระดับความชื้นในดิน เพิ่มระดับความชื้อนในอากาศโดยรอบ
การเกษตรกรรม ไม่สามารถตั้งอยู่เกิดขึ้นตามลำพัง แต่จำเป็นที่จะต้องประสาน ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับตลาด ในระดับราคาที่พึงพอใจ ผ่านการขนส่ง ไปถึงผู้บริโภคปลายทางสร้างรายได้ที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ผลิต แพลตฟอร์มเกษตรกรรมจึงจะต้องสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอกฟาร์มได้
Digital Twin ของสวนทุเรียน คือ ฟาร์มสวนทุเรียนดิจิทัล ที่ทราบความเป็นไปของต้นทุเรียนต้นจริง ๆ ได้ตลอดเวลา ทราบระดับความชื้นโดยรอบ ทราบปริมาณน้ำในลำต้น ทราบระดับความสุกของเนื้อทุเรียน และร้องขอบอกเกษตรกรเจ้าของฟาร์มว่าต้นทุเรียนจริงมีอาการป่วยไข้จากโรครบกวน
Digital Twin ของสวนมังคุดก็ลักษณะเดียวกัน
คราวนี้ ต้นมังคุดก็จะคุยกันได้กับสวนทุเรียน คุยกันได้กับเจ้าของสวน
เกษตรกรจึงเหมือนกับมี บุคคลเสมือนของเกษตรกรเอง ที่รับรู็สถานะของสวนเกษตรของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ลดภาระการดูแล แต่กลับได้ประสิทธิภาพของการทำสวนที่สูงขึ้น ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม มีรายได้ มีเงินออม มีเศรษฐกิจครอบครัวดี มีความสุขกาย สบายใจ
ระบบ Digital Twin ยังสามารถพัฒนารวมไปถึงระบบบัญชีครอบครัวเกษตรกรรม
Digital Twin ในทางดิจิทัล เกิดขึ้นได้อย่างไร
- hardware ของอุปกรณ์เซนเซอร์
- Software ประมวลผลการวัดผลของเซนเซอร์
- Software ระบบบริหารจัดการ การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการแจ้งเตือนสถานะต่าง ๆ
เหล่านี้จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือระดับ Middleware ที่จะประสานให้การพัฒฯาเป็นไปได้จริง ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆที่ได้รับอนุญาต
4044total visits,5visits today