อธิบายการทำงานของ Samong กับ JavaVM
เขียนคำสั่งครั้งเดียว นำไปใช้งานได้ทุกที่ (Write Once Run Anywhere)
จากความต้องการลดปัญหาการพัฒนาระบบที่ต้องนำไปใช้งานบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน จำนวนทีมงานที่ต้องมาร่วมกันทำงานจำนวนมาก จำนวนคำสั่งที่จะต้องเขียนซ้ำซ้อนกันโดยมีความแตกต่างกันในเรื่องภาษาที่ต้องแยกไปตามแพลตฟอร์ม นี่คือความต้องการส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด JavaVM และภาษา Java ที่ถูกพัฒนาขึ้นมากเพื่อแก้ไขปัญหาและได้รับความนิยมมากในปัจจุบันอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้งานได้ฟรี เพราะเป็นแบบ Open Sources
ตัวของ JavaVM เปรียบเสมือนเป็นมิดเดิลแวร์ หรือตัวห่อหุ้มความหลากหลายไว้ภายใน ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องกังวลใจในเรื่องความแตกต่างของแพลตฟอร์มต่างๆ กลายเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยการนำชุดคำสั่งของแอพพลิเคชั่นมาทำงานบน JavaVM ไม่ใช่ NativeCode หรือคำสั่งของซีพียู หรือคำสั่งของอุปกรณ์โดยตรง
ความต้องการ Native Code เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ IoT (Internet of Thing)
จำนวนของอุปกรณ์ IoT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย มีฟังก์ชั่นและการทำงานที่แตกต่างกัน การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G ที่รองรับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว หรือใช้เวลาน้อยลง
ความแตกต่างของอุปกรณ์ IoT จำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมอีกชั้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เปรียบเหมือนเป็นเครือข่ายระบบประสาทหรือระบบสมองของมนุษย์ รวมถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันและมีการจำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดฐานข้อมูลที่มีลักษณะกระจายตัวมากขึ้น
ด้วยความเร็วของการสื่อสารทำให้ระบบต่างๆ ที่ถูกนำมาทำงานร่วมกันมีลักษณะเป็นแบบเวลาปัจจุบัน หรือ สามารถตอบสนองเหตุการณ์ได้รวดเร็วทันทีทันใจ (RealTime) มากเพิ่มขึ้น
จากส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมโดยรวมที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ความต้องการแอพพลิเคชั่นที่มีคุณสมบัติเป็นชุดคำสั่งของซีพียูหรือชุดคำสั่งของอุปกรณ์โดยตรง (Native Code) มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ใช้งานได้รวดเร็วทันใจ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการทำให้ลักษณะการทำงานแบบ JavaVM ไปอยู่ในรูปของ Native Code ซึ่งเป็นแนวคิดเบื้องต้นของการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีที่เรียกว่า สมองแพลตฟอร์ม (Samong Platform) โดยมีกรอบแนวคิดว่า Samong is digital brain.
การคิด (Thinking) และความจำ (Memory) คือ องค์ประกอบสำคัญของสมอง
เทคโนโลยี iSTEE & Samong เราไม่ได้พูดถึงแค่ในเรื่องของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เพราะเกือบทุกภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมปัจจุบันนี้ ก็มีคุณสมบัติของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยกันทั้งนั้น แต่เรากำลังทำความเข้าใจในอีกระดับหนึ่งของการนำเอาเทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุมาสร้างเป็นแบบจำลองของเครือข่ายระบบอัจฉริยะ (Intelligent System Network)
เราไม่ได้ใช้ต้นแบบการจำลองอะไรที่ซับซ้อนเพียงแค่นำเอาระบบสมองของมนุษย์มาเป็นต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา ก็พบว่าองค์ประกอบสำคัญก็มี 2 ส่วนสำคัญคือ ความสามารถในการประมวลผลของสมอง และ สามารถในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก เรียกโดยย่อๆ ว่า การคิด (Thinking) และ ความจำ (Memory)
iSTEE & Samong เลือกใช้เดลไฟ (Delphi) ในการพัฒนาเพื่อต้องการนำเอาคุณสมบัติ Native Code มาใช้งานทำให้ การคิด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำงานรวดเร็ว อีกทั้งเดลไฟ มีคุณสมบัติและเครื่องมือที่ง่ายในการใช้งานระบบฐานข้อมูลที่สะดวกรวดเร็วและหลากหลาย ทำให้แอพพลิเคชั่น มีความสามารถในเรื่องความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้สะดวกรวดเร็ว
ลำพังแค่คุณสมบัติการคิดและความจำนั้น ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองการพัฒนาระบบที่มีองค์ประกอบซับซ้อนขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบและปริมาณข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องเจาะลึกลงไปในรายละเอียดระดับเซลล์หรือระดับดีเอ็นเอหรือระดับสายพันธุกรรมของร่างกาย ในแง่ของเทคโนโลยีนั้นเรากำลังพูดถึงเรื่องของการออกแบบคลาสของวัตถุหรือคลาสของชิ้นส่วน หรือสายพันธุกรรม โดยเรียกชื่อแนวคิดนวัตกรรมนี้ว่า iSTEE Technology ที่นำมาใช้เป็นแกนพัฒนา Samong Platform
Native Code คือคำสั่งของซีพียูหรืออุปกรณ์ โดยตรงไม่ต้องใช้ตัวแปลงคำสั่ง มันก็เป็นเหมือนธรรมชาติความคิดและความจำ มีประจำตัวในทุกเซลล์ร่างกายของคนเรา นี่คือเหตุผลการเลือกเส้นทางของ Native Code
ในทุกเซลล์ที่มีการคิดและความจำรวมอยู่ด้วยกัน ก็คือคุณสมบัติพื้นฐานของแนวคิด MicroServices
ทำให้ Samong มีคุณลักษณะ MicroService Inside MicroService ไปโดยธรรมชาติ
6346total visits,3visits today